ขอบคุณครับส่วนตัวที่แกะจากเนื้อกะลาตาตาเดียวมีครับแต่ยังไม่ได้ออก _(ถ้าออกจะบอกเป็นท่านแรกครับ)@>>>"ของแท้ดูกี่ครั้งก็ดูดีนะ ของแท้มีชีวิตชีวาดีนะ"@>>>จิ้งจกหลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง จ.อยุธยา แกะจากงา จารมือยุคแรกๆของท่าน เป็นจิ้งจกตัวเล็กศิลป์ใหญ่ เนื้องาขาวเก่า แห้งขึ้นเสี้ยนงา และเป็นงาใสจนมองเห็นวงปีงา เหตุเพราะเจ้าของเก่าเลี่ยมพลาสติกไว้และไม่ได้ใช้ห้อยติดตัวทำให้ไม่โดนไอเหงื่อ ไอตัว จึงมีสภาพสวยเดิมๆ แต่ก็ยังทรงไว้ซึ่งความดูง่ายๆตามประสางาเก่ามีอายุ กับศิลปะ และลายมือจารอักขระยันต์ของหลวงปู่ บวกกับที่มาดีๆครับ จึงต้องขอนำเอาคำนี้มาเอ่ยอ่างถึงว่า_ของแท้ดูกี่ครั้งก็ดูดีนะ ของแท้มีชีวิตชีวาดีนะ จิ้งจกของหลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง (ตัวจริงเสียงจริงจะต้องมีลักษณะเหมือนอย่างในเพลง"พี่เต๋อ"ที่ผมเอ่ยอ้างถึง) เป็นจิ้งจกตัวเล็กศิลป์ใหญ่(ศิลป์นี้ส่วนมากจะแกะเฉพาะตัวใหญ่)แต่ตัวนี้เป็นตัวเล็กขนาดความยาวเจ็ดหุนครึ่ง เป็นยุคต้นที่พบเห็นได้น้อย เก่าจัด จารอักขระด้วยมือ ส่วนใหญ่จะจารด้วยเครื่อง?หายากมากๆได้มาจากคนเก่าแก่พื้นที่พร้อมผ้ายันต์มันสุดๆ สั่งเกตุตรงชื่อหลวงปู่ที่ผ้ายันต์ให้ดี ยังพิมพ์คำว่า อาจารย์ หน่าย วัดบ้านแจ้ง อยู่เลย"ลองคลิกไปดูตัวก่อนหน้านี้ที่โดนบูชาไปแล้วในร้านลงไว้พร้อมผ้ายันต์" บวกกับเนื้อของงาเก่าจนขึ้นเสี่ยนและจารมือถึงยุคจึงบ่งบอกว่าเป็นยุคแรก ยุคต้น ตัวจริงเสียงจริงได้อย่างเต็มปากเต็มคำ อาราธนาติดตัวแล้วอุ่นกาย สบายใจชัวร์ ใครอยากหาของดูง่ายๆ ยุคแรกๆ ไม่มั่วนิ่ม โทรมา แต่ขอบอก ของดี หายาก ตัวเล็กๆ"สาลิกา"จารอักขระด้วยมือ เนื้องาขาวแห้งจนเห็นปีงาจัดจ้านดูง่าย จึงเป็นเหตุที่ทำให้จิ้งจกตัวนี้มีราคาแพง แต่ก็สุดคุ้มกับพุทธาคมที่โดดเด่นกับประสบการณ์ทางด้านเมตตามหานิยมเป็นอย่างมาก_(หรือใครจะไปหา ตัวถูกๆ ตัวขาวๆใหม่ๆ ศิลป์แข็งๆ จารด้วยเครื่อง ก็สุดแล้วแต่การพิจารณาของท่านครับ)
ข้อมูลที่๑.หลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเข้มขลังทางพุทธาคม ที่ขึ้นชื่อก็คือ เรื่องการสักยันต์ กับ เครื่องรางแกะเป็นรูปจิ้งจก และจิ้งจกซึ่งก็จัดเป็นเครื่องรางของท่านที่โดดเด่นมากๆทางด้านเมตตามหานิยม เมตตามหาเสน่ห์ เป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่หน่าย เดิมท่านมีชื่อว่า หน่าย นามสกุล มีความดี เกิดเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่บางปะหัน บิดาชื่อหลาบ มารดาชื่อพลอย ภายหลังจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี จนกระทั่งอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ภายหลังที่บวชแล้วได้ไปเรียนวิชาจาก อาจารย์ย่ามแดง ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เมื่อท่านมาจำพรรษาที่วัดบ้านแจ้งแล้ว ท่านก็มักจะไปปฏิบัติธรรมภายในป่าช้าของวัดอยู่เสมอ ภายหลังจากที่ว่างเว้นจากการสักหมึกและน้ำมัน ให้แก่ผู้ที่ศรัทธา ในความเข้มขลังของท่าน ซึ่งยันต์ที่ท่านสักให้ไปนั้น ต่างก็เป็นที่กล่าวขานถึงความคงกระพันชาตรี เป็นอย่างสูงยิ่ง.
ข้อมูลที่๒."ต่อไปเป็นความรู้เป็นข้อคิดอ่านให้จบ"บางสายหนังสือบางเล่มก็กล่าวว่าหลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง ท่านทันและเป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
โดยมีหลวงปู่เอีย วัดบ้านด่าน เป็นศิษย์รุ่นพี่ (ศึกษาวิชาไปพร้อมๆ กัน)
ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า หลวงปู่หน่ายและหลวงปู่เอียเป็นศิษย์รุ่นน้องของ ?เสด็จเตี่ย? นั่นเอง
จากคำบอกกล่าวถึงการเรียนวิชาและการฝึกวิชากับหลวงปูศุขนั้น ทราบว่า
การฝึกวิชาถึงขั้นแล้วและการจะจบวิชาจารอักขระ ถึงขั้นต้องจับผูกเชือกแล้วโยนลงน้ำ
คือให้ฝึกการจารอักขระใต้น้ำ ซึ่งปัจจุบันนี้หา วิชาการจารอักขระใต้น้ำลักษณะนี้ไม่มีให้พบเห็นกันแล้ว
ต่อไปนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวผม_วัต ท่าพระจันทร์ ไม่เกี่ยวกับผู้ใด โดยส่วนตัวผมข้อมูลที่๑.น่าจะเป็นเหตุเป็นผลและ
เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้แต่...ข้อมูลที่๒.น่าจะขัดกับหลักความเป็นจริงเพราะหลวงปู่หน่ายท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖ ท่านได้
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๒ ปีก็เท่ากับ พ.ศ.๒๔๕๘ จนกระทั่งอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ(ชายไทย
สมัยก่อนอายุครบบวชคือ๒๐ปี) ก็บวกไปอีก๘ปีเท่ากับหลวงปู่หน่ายท่านบวชเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ ซึ่งเป็นปี พ.ศ.
ที่หลวงปู่ศุข ท่านมรณภาพละสังขารพอดีคือปลายปี พ.ศ.๒๔๖๖ ก็เลยยกข้อมูลทั้งสองอย่าง(สามอย่างรวมทั้งของผม)มาให้
เพื่อนๆสมาชิกของร้านเราอ่านกันจะเชื่ออันไหนแบบไหน หรือจะเชื่อความคิดเห็นส่วนตัวที่ผมกล่าวถึง มันก็แล้วแต่ท่าน แต่
ที่แน่ๆไม่ว่าจะข้อมูลไหน ท่านก็เป็นศิษย์สายวัดปากคลองมะขามเฒ่าโดยแท้แน่นอนดังนั้นใครที่มีของ ของท่านอาราธนา ติดตัวจึงสบายใจหายห่วงไปได้เลยนะเพื่อนเอย _เป็นความรู้เล็กๆครับ@>>>วัต ท่าพระจันทร์
คาถาบูชาจิ้งจก ลป.หน่าย วัดบ้านแจ้ง
ตั้งนะโม (3 จบ) แล้วว่า
อะอิ อะมะ อะมะ อะอิ
อะอิ จะหัง อะมะ สวาหะ
นะมะพะทะ ทะพะนะมะ (ว่า 3 จบ)
คลิก:ไปร้านแรกและร้านสอง.
http://www.thaprachan.com/shop.php?shop_id=430
http://www.thaprachan.com/shop.php?shop_id=1052
อนุวัต บูรณสัจจะ(วัต ท่าพระจันทร์)
Best Regards,